รู้แจ้งด้วยธรรมกาย
ชนพาลทั้งหลายผู้ไม่รู้แจ้ง พากันลุ่มหลงอยู่ในโลกนี้ ความมืดตื้อย่อมมีแก่ชนพาลทั้งหลายผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ผู้ไม่เห็นอยู่ ส่วนนิพพานเป็นธรรมชาติเปิดเผยแก่สัตบุรุษผู้เห็นอยู่ เหมือนอย่างแสงสว่าง ฉะนั้น ชนทั้งหลายเป็นผู้ค้นคว้า ไม่ฉลาดต่อธรรม ย่อมไม่รู้แจ้งนิพพานที่มีอยู่ในที่ใกล้ ชนทั้งหลายผู้ถูกภวราคะครอบงำแล้ว แล่นไปตามกระแสภวตัณหา ผู้เข้าถึงวัฏฏะอันเป็นบ่วงแห่งมารเนืองๆไม่ตรัสรู้ธรรมนี้ได้โดยง่าย
สังเกตคนดีที่ความประพฤติ
บุคคลผู้ประสงค์จะไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป (คือ อายตนนิพพาน) ต้องตามรักษาจิตของตน เหมือนคนประคองภาชนะน้ำมันที่เต็มเสมอขอบปากที่ไม่พร่องไว้ฉะนั้น
อรหัตตภูมิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ ๔ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยอภิญญาของตนเอง เข้าถึงทิฏฐธรรมอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเช่นนี้คือสมณะที่ ๔ ในพระพุทธศาสนา
อานิสงส์บูชาโพธิพฤกษ์
เราเห็นไม้แคฝอยอันเขียวสด อันเป็นไม้โพธิ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี จึงบูชาด้วยดอกไม้ ๓ ดอก เวลานั้น เรากราบไหว้ไม้แคฝอย เหมือนถวายบังคมพระพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ผู้เป็นนายกของโลก ผู้บริสุทธิ์ทั้งภายในและภายนอก ผู้พ้นวิเศษดีแล้ว ไม่มีอาสวะ เฉพาะพระพักตร์ แล้วได้ทำกาละ ณ ที่นั้นเอง ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาไม้โพธิ์ใด ด้วยกรรมนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย
อานิสงส์ถวายเข็ม
ในกัปที่สามหมื่นได้ถวายเข็ม ๕ เล่ม แด่พระสุเมธะพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ผู้เป็นจอมแห่งชน ด้วยการถวายเข็มนั้น ญาณเป็นเครื่องรู้แจ้งอรรถและธรรมอันละเอียดคมกล้า แม่นยำ รวดเร็วและสะดวกเกิดขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง ทรงพระนามว่า ทิปทาธิบดี สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
อานิสงส์ถวายปูนขาวร่วมสร้างเจดีย์
ใครๆ ไม่อาจจะนับบุญของบุคคลผู้บูชาพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า หรือพระสาวก ผู้สมควรบูชา ผู้ล่วงธรรมเครื่องให้เนิ่นช้า ผู้ข้ามความโศกและความร่ำไรแล้ว ว่าบุญนี้มีประมาณเท่านั้นเท่านี้ได้ ใครๆ ไม่อาจจะนับบุญของบุคคล ผู้บูชาปูชารหบุคคลเหล่านั้น ผู้ดับแล้ว ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ ว่า บุญนี้มีประมาณเท่าใด
มหาโควินทสูตรตอนที่ ๒ (พุทธคุณ ๘ ประการ)
บุคคลผู้ถึงพระรัตนตรัย ชื่อว่าจะเป็นผู้บังเกิดในนรกเป็นต้น ย่อมไม่มี พ้นจากการบังเกิดในอบายแล้ว ยังจะเกิดขึ้นในเทวโลกได้เสวยมหาสมบัติ
พระพุทธลีลา
พระ ผู้เป็นนาถะของโลก ทรงสมบูรณ์ด้วยจรณะ ไม่ก้าวพระบาทยาวในที่ไกลมาก ไม่ก้าวพระบาทถี่ในที่ใกล้มาก เสด็จดำเนินไม่เสียดสีพระชานุ และข้อพระบาททั้งสอง เสด็จดำเนินไม่เร็วนักไม่ช้านัก ขณะเสด็จดำเนินก็มีสมาธิ พระหฤทัยตั้งมั่น ไม่ทอดพระเนตรขึ้นเบื้องบน หรือลงเบื้องต่ำ ทอดพระเนตรเพียงชั่วแอก มีพระอาการเยื้องกรายคล้ายพญาช้าง ทรงทำโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้ร่าเริง ทรงงดงามดุจดวงจันทราในยามรัตติกาล
พระพุทธคุณ ตอน สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ
พระองค์ทรงเป็นที่พึ่งของผู้ไร้ที่พึ่ง ทรงประทานความไม่มีภัยแก่เหล่าชนผู้มีความกลัว ทรงเป็นที่คุ้นเคยของผู้มีภูมิธรรมสงบ ทรงเป็นที่พึ่งที่ระลึกของผู้แสวงหาที่พึ่งที่ระลึก
มหาโควินทสูตร (ตอนที่ 2 พุทธคุณ ๘ ประการ)
บุคคลจะเป็นอุบาสกหรืออุบาสิกาก็ตาม ผู้ถึงพระรัตนตรัยอันประกอบด้วยคุณอันอุดมอย่างนี้ ชื่อว่าจะเป็นผู้บังเกิดในนรกเป็นต้น ย่อมไม่มี อนึ่งพ้นจากการบังเกิดในอบายแล้ว ยังจะเกิดขึ้นในเทวโลกได้เสวยมหาสมบัติ
มงคลที่ ๓๗ - จิตปราศจากธุลี - อยุ่ที่ไหนก็ได้ถ้าใจหยุด
มหาอุบาสิกาวิสาขาคิดว่า คำตอบของพระคุณเจ้าไม่ตรงกัน ต้องมีเหตุอะไรเกิดขึ้นเป็นแน่ จึงได้กราบทูลเรื่องนี้ต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ตรัสว่า "ดูก่อนวิสาขา พระอรหันต์ทั้งหลายจะอยู่ ณ ที่ใด จะเป็นบ้านหรือป่า ที่ลุ่มหรือที่ดอน สถานที่นั้นย่อมเป็นสถานที่อันน่ารื่นรมย์"
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - ละตัณหาได้ ไม่ต้องเกิดอีก
ครั้นพระบรมศาสดาทรงแก้ปัญหาจบลงแล้ว พราหมณ์ได้เพียงดวงตาเห็นธรรม ไม่ได้บรรลุอรหัตผล ได้บรรลุเพียงโสดาปัตติผลเท่านั้น เพราะเวลาฟังพยากรณ์ปัญหา มีจิตฟุ้งซ่าน คิดถึงลุงผู้เป็นอาจารย์ว่า ลุงของเราหาได้มีโอกาสฟังพระธรรมเทศนาอันลึกซึ้งไพเราะอย่างนี้ไม่ อาศัยความกังวลที่มีจิตฟุ้งซ่าน เพราะความรักใคร่ในลุง จึงไม่อาจทำให้สิ้นอาสวะในตอนนั้นได้
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - เปลี่ยนวิถีชีวิตด้วยบุญบารมี
เรื่องมีอยู่ว่า พญาปฐวินทรนาคราช ผู้ได้เสวยสุขอยู่ในนาคพิภพ สมบูรณ์ด้วยสมบัติอันโอฬารล้วนด้วยรัตนชาติ พรั่งพร้อมด้วยเบญจกามคุณทั้งห้า ครั้นได้เสวยสุขสมบัติอันซ้ำซากจำเจอย่างนั้นนานวันเข้า เกิดความเบื่อหน่ายในนาคพิภพ อันเป็นปกติของหมู่สัตว์ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ จึงดำริอยู่ในใจว่า"แม้เราจะสมบูรณ์พรั่งพร้อมด้วยรัตนสมบัติมากมาย แต่ก็ไม่ได้ประเสริฐเท่าใด เพราะยังไม่พ้นจากกำเนิดของสัตว์ที่ต้องเลื้อยคลานไปได้"